วิธีเลือกเจลล้างมือที่ถูกต้อง ป้องกันเชื้อโรคไวรัสได้จริง!!

เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา หรือ COVID-19 ในปัจจุบัน หน้ากากอนามัยและเจลล้างมือจึงเป็นสิ่งที่ผู้คนให้ความสนใจเป็นอย่างมากและหาซื้อได้ยาก โดยเฉพาะ เจลล้างมือ ที่เริ่มมีการแชร์วิธีการทำเจลล้างมือ ใช้เองกันอย่างล้นหลาม ตลอดจนกลุ่มธุรกิจ โรงงานผลิตอาหารเสริม โรงงานผลิตเจลล้างมือ ก็เข้ามามีส่วนร่วมในการ ผลิตเจลล้างมือ ให้สามารถนำออกมาจำหน่ายในท้องตลาดอีกด้วย

แอลกอฮอล์มีกี่ชนิด กี่แบบ แบบไหนใช้ทำความสะอาดได้

  1. เอทานอล (Ethanol หรือ Ethyl Alcohol) นิยมนำมาใช้ทำผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เช่น เจลล้างมือ เป็นต้น
  2. เมทานอล (Methanol หรือ Methyl Alcohol) นิยมใช้ในอุตสาหกรรม เช่น ทำเป็นเชื้อเพลิง หรือปืนกับทินเนอน์เพื่อผสมทำแลคเกอร์ เป็นต้น ห้ามนำมาใช้กับร่างกาย

การออกฤทธิ์และความเข้มข้นที่แตกต่างของแอลกอฮอล์ แต่ละประเภท

แอลกอฮอล์ มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์แบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา ซึ่งมีการออกฤทธิ์ที่แตกต่างกันตามความเข้มข้น ดังนี้

  • ความเข้มข้นน้อยกว่า 50% จะมีประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อโรคน้อยมาก
  • ความเข้มข้น 70% นิยมทำเป็นเจลล้างมือ เนื่องจากจะไม่ระเหยเร็วเกินไป
  • ความเข้มข้น 95% – 100% แอลกอฮอล์จะระเหยเร็วมากโดยที่ยังไม่ทันได้ฆ่าเชื้อ

วิธีเลือกเจลล้างมือที่ดี

  • มีฉลากภาษาไทยระบุชื่อ, ส่วนผสม, วิธีใช้, ชื่อและที่อยู่ของผู้ผลิตหรือนำเข้า, วันเดือนปีที่ผลิต
  • บรรจุภัณฑ์ปิดสนิท สามารถป้องกันการระเหยของแอลกอฮอล์ได้
  • เจลล้างมือมีความหนืดเหมาะสม ใช้แล้วไม่เหนียวเหนอะหนะ
  • เมื่อเทใส่ฝ่ามือแล้วเจลสามารถอยู่ในอุ้งมือได้ ไม่หก
  • มีความคงตัวทางกายภาพ ไม่แยกชั้น
  • ไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่หมดอายุ สังเกตได้จาก ไม่มีความเย็นจากการระเหยของแอลกอฮอล์ หรือมีการแยกชั้น จับเป็นก้อน ตกตะกอน และเปลี่ยนสี

วิธีใช้เจลล้างมือที่ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ

  • เทเจลล้างมือลงลนฝ่ามือ 2-3 มล.
  • ถูเจลให้ทั่วมือประมาณ 20 วินาที
  • ปล่อยให้เจลแอลกอฮอล์แห้งในอากาศ โดยไม่ต้องล้างออก
  • ระวังอย่าเข้าใกล้เปลวไฟ โดยเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่ เพราะแอกอฮอล์หากยังไม่แห้งจะสามารถติดไฟได้
  • ไม่ควรใช้ในเด็กทารก บริเวณผิวบอบบางและผิวอักเสบ เช่น รอบดวงตา บริเวณที่มีสิว และบาดแผล

วิธีเก็บรักษาผลิตภัณฑ์เจลล้างมือ

  • เก็บในบรรจุภัณฑ์ที่ปิดสนิท
  • ไม่ถูกแสงแดดหรือความร้อน เพราะอาจทำให้แอลกอฮอล์ระเหยและความเข้มข้นลดลงได้

ที่มา : สำนักเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

 

SOCIALICON